วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ชนิดของคำนาม


ชนิดของคำนาม
คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้


๑. สามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามทั่วไป คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วๆ ไป เป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปลา ผีเสื้อ คน สุนัข วัด ต้นไม้ บ้าน หนังสือ ปากกา เป็นต้น


๒. วิสามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามเฉพาะ คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉาะของคน สัตว์ หรือสถานที่ เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็นใครหรือเป็นอะไร เช่น พระพุทธชินราช เด็กชายวิทวัส จังหวัดพิจิตร วัดท่าหลวง ส้มโอท่าข่อย พระอภัยมณี วันจันทร์ เดือนมกราคม เป็นต้น


๓. สมุหนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไป และคำนามเฉพาะ เช่น ฝูงผึ้ง กอไผ่ คณะนักทัศนาจร บริษัท พวกกรรมกร เป็นต้น


๔. ลักษณะนาม คือ เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด ปริมาณ ของคำนามนั้นนั้นให้ชัดเจน เช่น บ้าน ๑ หลัง โต๊ะ ๕ ตัว คำว่า หลัง และ ตัว เป็นลักษณะนาม


๕. อาการนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการ เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง มักมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า เช่น การกิน การเดิน การพูด การอ่าน การเขียน ความรัก ความดี ความคิด ความฝัน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น