วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รายชื่อผู้จัดทำ


1.ด.ช.พงศ์ธร เหลืองสุทธิพันธ์ ม.1/1 เลขที่ 16
2.ด.ช.อิศรพงศ์ คนหลัก ม.1/1 เลขที่ 2
3.ด.ช.เศรษฐ์โชค พชรธนไพศาล ม.1/1 เลขที่ 17
4.ด.ช.บุญสิริ จุฬาศินนท์ ม.1/1 เลขที่ 22

ความหมายของคำนาม


คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียก ชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น นก หนู โรงเรียน วัด
สิงโต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ทวีปยุโรป

ชนิดของคำนาม


ชนิดของคำนาม
คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้


๑. สามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามทั่วไป คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วๆ ไป เป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปลา ผีเสื้อ คน สุนัข วัด ต้นไม้ บ้าน หนังสือ ปากกา เป็นต้น


๒. วิสามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามเฉพาะ คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉาะของคน สัตว์ หรือสถานที่ เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็นใครหรือเป็นอะไร เช่น พระพุทธชินราช เด็กชายวิทวัส จังหวัดพิจิตร วัดท่าหลวง ส้มโอท่าข่อย พระอภัยมณี วันจันทร์ เดือนมกราคม เป็นต้น


๓. สมุหนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไป และคำนามเฉพาะ เช่น ฝูงผึ้ง กอไผ่ คณะนักทัศนาจร บริษัท พวกกรรมกร เป็นต้น


๔. ลักษณะนาม คือ เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด ปริมาณ ของคำนามนั้นนั้นให้ชัดเจน เช่น บ้าน ๑ หลัง โต๊ะ ๕ ตัว คำว่า หลัง และ ตัว เป็นลักษณะนาม


๕. อาการนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการ เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง มักมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า เช่น การกิน การเดิน การพูด การอ่าน การเขียน ความรัก ความดี ความคิด ความฝัน เป็นต้น

หน้าที่ของคำนาม


หน้าที่ของคำนาม


1.เป็นประธานของประโยค


2.เป็นกรรมของประโยค


3.เป็นส่วนขยาย









1. เป็นประธานของประโยค เช่น




เด็กๆกำลังเล่นซ่อนหากันอย่างสนุกสนาน (เด็กๆ เป็น ประธาน)


เป็ดอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้หมู่บ้าน (เป็ด เป็น ประธาน)


ครูลงโทษนักเรียนที่ไม่ทำการบ้าน (ครู เป็นประธาน)

2.เป็นกรรมของประโยค เช่น


ครูลงโทษนักเรียนที่ไม่ทำการบ้าน (นักเรียน เป็น กรรม)


เขายิงเป็ดที่อาศัยอยู่ในหนองน้ำหน้าบ้าน (เป็ด เป็น กรรม)


จระเข้กำลังกินไก่ (ไก่ เป็น กรรม)

3.เป็นส่วนขยาย เช่น


บ้านสมศรีอยู่ไกลตลาดมาก (สมศรีเป็นนาม ขยาย บ้าน)


กรงนกเอี้ยงตกอยู่ที่พื้น (นกเอี้ยงเป็นนาม ขยาย กรง)


สมุดคณิตศาสตร์ของใครลืมไว้ที่ห้องพักครู (คณิตศาสตร์เป็นนามขยาย สมุด)

แบบฝึกหัด


1. ข้อใดเป็นความหมายของคำนาม


ก. เป็นคำที่ทำหน้าที่ขยายคำต่างๆ


ข. เป็นคำที่ใช้แสดงความรู้สึกของคน สัตว์


ค. เป็นคำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่


ง. เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่




2. ข้อใดเป็นคำนามทุกข้อ


ก. พูดดี-สีดำ


ข. น้ำตก -พกพา


ค. ความชั่ว- มีมาก


ง. กองหนังสือ – ความดี



3. ประโยคใดใช้ลักษณะนามถูกต้อง


ก.ดินสออันนั้นเป็นของใครไม่รู้


ข.ปากกาด้ามนั้นเป็นของฉันเองค่ะ


ค.หนังสือวางอยู่บนโต๊ะ 2 แผ่นแค่นั้นเหรอ


ง.มีเครื่องบิน 3 คัน กำลังผาดโผนในอากาศ



4. ประโยคใดที่มีคำนามทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมตามลำดับ


ก.ครูตีนักเรียน


ข.ฉันร้องไห้


ค.นกบินสูงจังเลย


ง.วันนี้ฝนตกหนักมาก



5. แม่ซื้อปลาย่างมา 3 ตับ คำว่า ตับ เป็นนามชนิดใด


ก.สมุหนาม


ข.ลักษณนาม


ค.สามานยนาม


ง.วิสามานยนาม



6. คณะครู กำลังเดินทางมาเยี่ยมพวกเรา คำว่า คณะ เป็นคำนามประเภทใด


ก.สมุหนาม


ข.ลักษณนาม


ค.สามานยนาม


ง.วิสามานยนาม



7. แดงซื้อขนมที่หน้าโรงเรียน จากประโยค คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมคือคำใด


ก.แดง


ข.ขนม


ค.โรงเรียน


ง.เมื่อเช้านี้



8. ประโยคใดมีคำนามทำหน้าที่ขยายคำอื่น


ก.จระเข้กินไก่


ข.จระเข้ตัวใหญ่กินไก่


ค.บ้านสมศรีอยู่ไกลมาก


ง.สมศรีเป็นคนกรุงเทพ



9. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคำนาม


ก.เป็นกรรมของประโยค


ข.เป็นคำแสดงอาการของประธาน


ค.เป็นประธานของประโยค


ง.เป็นคำที่ทำหน้าที่ขยายคำอื่นให้สมบูรณ์



10. วิสามานยนาม หมายถึงข้อใด


ก. นามบอกอาการ


ข.นามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า


ค.นามที่ใช้เรียกชื่อทั่วๆไป


ง.นามที่เป็นชื่อเฉพาะ



11.คำว่า ขัน ในข้อใดเป็นคำนาม


ก.นกเขาขันไพเราะ


ข.คุณป้ากำลังเช็ดขันน้ำ


ค.คุณลุงขันน็อตให้แน่นขึ้น


ง.เขาทำงานน่าขันเสียจริงๆ



12.คำคู่ใดมีลักษณนามต่างกัน


ก.ธนู ร่ม


ข.ตะปู เก้าอี้


ค.เรือ เครื่องบิน


ง.กระจก กระดาน



13.ข้อใดเป็นคำนามทั่วไป


ก.กีฬา


ข.กาญจนบุรี


ค.ดวงอาทิตย์


ง.เพลงชาติไทย



14.ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคำนาม


ก.เป็นส่วนขยาย


ข.เป็นกรรมของประโยค


ค.เป็นประธานของประโยค


ง.เป็นคำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค



15.คำนามข้อใดมีลักษณนามว่า แผ่น เหมือนกันทุกคำตอบ


ก.กระจก กระดาน กระสอบ


ข.กระดาน กระสอบ กระเป๋า


ค.กระดาน กระดาษ กระสอบ


ง.กระดาน กระดาษ กระเบื้อง

เฉลยแบบฝึกหัด


ข้อ
1 ง
2 ง
3 ข
4 ก
5 ข
6 ก
7 ค
8 ข
9 ง
10 ง
11 ข
12 ง
13 ก
14 ง
15 ง